วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

8 เทคนิคปลอดภัยเมื่อใช้งาน Internet Banking

ระหว่างที่เราใช้งาน Internet Banking เพื่อความสะดวก รวดเร็ว 

และช่วยลดการใช้พลังงานจากการต้องเดินทางไปจ่ายค่าบริการต่างๆ ด้วยตัวเอง


มีสิ่งหนึ่งที่เราต้องควรใส่ใจด้วย นั่นคือ "ความปลอดภัยในการทำธุรกรรม"

วันนี้เราเลยนำเทคนิคความปลอดภัยมาเตือนกันค่ะ 
เพื่อที่เราจะได้ช่วยโลกของเราให้ปลอดภัยได้อย่างปลอดภัยไงคะ ^ ^

+     +      +      +     +     +

  1. ไม่ค้นหาเว็บธนาคารจาก search google เพราะอาจเจอ เว็บปลอมหรือ Phishing ได้ควรพิมพ์รายละเอียดลิงค์ URL ของธนาคารด้วยตัวเอง และทำ Bookmark เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าเว็บครั้งต่อไปค่ะ
  2. ไม่ควรทำธุรกรรมทางการเงินจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น เครื่องของบุคคลอื่น หรือ เครื่องตามร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ เพราะอาจะมีการจดจำรายละเอียดบางอย่างไว้ได้และเราอาจจะกลับมาตรวจสอบการทำรายการได้ยากหรือจำไม่ได้ว่าได้คลิกอะไรไปบ้าง ผิดพลาดที่การทำรายการวันไหน เป็นต้น
3. ในการเข้า internet banking ผ่าน web browser  ต้องสังเกตรูปแม่กุญแจสีเหลืองต้อง Lock อยู่เสมอ (ซึ่งหมายถึง https:// โดย s หมายถึง security) ซึ่งแปลว่ามีการเข้ารหัสและเป็นการติดต่อไปยัง Server ของธนาคารอยู่จริง  แต่ถ้าเข้าผ่านโปรแกรม Mobile banking ทางมือถือ เราจะไม่เห็น URL หรือแม่กุญแจนั้นแล้ว แต่ทางธนาคารจะบังคับให้ต้องเข้ารหัสหรือ https อยู่เสมออยู่แล้ว ซึ่งแสดงว่าจะปลอดภัยมากขึ้น
4. ระะมัดระวัง หากใช้ Mobile Banking ผ่านเครือข่าย Wi-Fi สาธารณะ (Public Wi-Fi) นะคะ เพราะอาจถูกแฮกเกอร์ขโมยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ควรใช้ผ่านระบบผู้ให้บริการมือถือของเราเอง 
5. ควรสมัครใช้บริการ SMS Alert แจ้งเตือนเงินเข้าออก เพื่อเราจะได้รู้ทันทีถ้ามีเงินออกจากบัญชีโดยที่เราไม่ได้ทำรายการ อาจจะช่วยให้การยับยั้งหรือติดตามคนที่ลักลอบนำข้อมูลของเราไปใช้ได้เร็วขึ้นค่ะ
6. และที่ขาดไม่ได้เช่นกันก็คือ สมัครบริการ e-mail alert ด้วย เพราะจะเป็นหลักฐานและมีรายละเอียดที่น่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นมากกว่าข้อความทาง SMS ซึ่งเป็นการแจ้งเตือนเบื้องต้นทันที และอีเมล์นี้จะใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมของเราได้น่าเชื่อถือที่สุดค่ะ เพราะส่งมาจากระบบของธนาคารเอง
7. ไม่ควรรีบทำธุรกรรมหรือกิจกรรมใดๆ ที่ส่งมาแจ้งทางอีเมล์ เช่น ให้ลงทะเบียน ให้อัพเดตข้อมูลส่วนบุคคลบางอย่าง ควรทำการตรวจสอบกับธนาคารก่อน ง่ายๆเลยคือ ถ้ามีการขอความร่วมมือจะต้องมีประกาศอะไรสักอย่างที่หน้าเว็บไซต์แน่นอน ถ้าเปิดเข้าไปแล้วไม่เจอ ให้โทรสอบถามกับเจ้าหน้าที่ธนาคารก่อนค่ะ
8. ไม่ควรทำธุรกรรมทางการเงินบนอินเตอร์เน็ต ด้วยบัญชีที่หลากหลายเกินไป โดยเฉพาะบัญชีที่มีเงินออมหลักของเราอยู่ เพราะอาจจะมีจำนวนเงินที่เยอะ หากมีข้อผิดพลาดจะเสียหายมูลค่ามากค่ะ ควรใช้กับบัญชีที่กำหนดเพื่อให้เงินเข้าออกเพื่อความสะดวกก็พอค่ะ
ติดตามเราได้อีกช่องทางที่เฟซบุค www.facebook.com/mystoryspeakout นะคะ ^ ^